Tuesday, December 19, 2006

สัตว์น้ำคุ้มครอง3



หอยมือเสือ (Giant clams)
เป็นหอยในกลุ่มหอยสองฝาที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีแหล่งอาศัยดำรงชีวิตอยู่ตามแนวปะการัง พบแพร่กระจายอยู่เฉพาะในทะเลเขตร้อนแถบอินโดแปซิฟิกเท่านั้น เป็นทรัพยากรสัตว์น้ำที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้ว เนื้อของหอยมือเสือโดยเฉพาะกล้ามเนื้อยึดเปลือก (adductor muscle) เป็นอาหารซึ่งมีราคาแพง เป็นที่นิยมบริโภคในหลายประเทศ เปลือกใช้ทำเครื่องใช้ เครื่องประดับ ส่วนหอยมือเสือขนาดเล็กนิยมนำมาเลี้ยงประดับในตู้ปลาทะเลสวยงาม ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หอยมือเสือถูกจับขึ้นมาใช้ประโยชน์มากจนเกินกำลังธรรมชาติจะทดแทนได้ทันในทุกแหล่งการแพร่กระจายจนกระทั่งอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์ หรือบางชนิดถูกทำลายจนหมดไปจากบางแหล่ง จึงเป็นหนึ่งในจำนวนสัตว์น้ำที่ได้รับการขึ้นบัญชีในรายชื่อสัตว์และพืชที่ใกล้สูญพันธุ์หรือหายากในอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ หรือ CITES (The Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora) และจัดอยู่ในบัญชีสัตว์สงวนและคุ้มครองประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ของไทย ในทะเลไทยพบหอยมือเสืออยู่ทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน จำนวนประชากรหอยมือเสือในน่านน้ำไทยในปัจจุบันมีเหลืออยู่ไม่มาก เนื่องจากหอยมือเสือมีแหล่งอาศัยอยู่ตามแนวปะการังที่มีระดับน้ำไม่ลึกเพราะต้องอาศัยแสงสว่างในการดำรงชีพเพื่อให้สาหร่ายซึ่งอาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อของมันสามารถสังเคราะห์แสงได้ จึงทำให้หอยมือเสือถูกจับขึ้นมาได้ง่าย แม้ว่าการบริโภคเนื้อหอยมือเสือในประเทศไทยจะไม่แพร่หลาย เพราะมีจำกัดอยู่เฉพาะในหมู่คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตามเกาะหรือชายฝั่งทะเลเท่านั้นที่รู้จักและมีโอกาสบริโภคเนื้อหอยมือเสือเป็นอาหาร แต่ก็มีการเก็บเปลือกหอยมาจำหน่ายเป็นของที่ระลึกหรือผลิตภัณฑ์สิ่งประดับตกแต่งต่างๆ จำนวนมาก ประกอบกับปัญหาสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม เป็นเหตุให้ทรัพยากรหอยมือเสือถูกทำลายลงไปจนแทบจะสูญพันธุ์ในหลายๆ แหล่ง จึงจำเป็นต้องเร่งทำการศึกษาวิจัยเพื่อหามาตรการอนุรักษ์หรือแนวทางที่จะสามารถใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืนต่อไปชีววิทยาทั่วไป

สัตว์น้ำคุ้มครอง2


ปลาโลมา
ตำนานโลมา

ตำนานกรีก เล่าว่า เทพแห่งไวน์ ของกรีก ชื่อ ไดโอนีซอส (Dionysos) แปลงลง มาเป็นมนุษย์ และได้ โดยสารเรือ ข้ามจาก เกาะอิคาเรีย (Ikaria) ไปยังเกาะนาซอส ในทะเล เมดิเตอร์เรเนียน
ไดโอนีซอสนั้น แม้จะ เป็นเทพ ทว่า ไม่มีญาณ หยั่งรู้ว่า เรือลำที่ตน โดยสาร ไปนั้น เป็นเรือโจร ลูกเรือ จะปล้น ผู้โดยสาร ทุกคน ถ้วนหน้า เมื่อถึงคราว ของ ไดโอนีซอส เขาจึง ถูกลูกเรือ ปล้น และคิด จะจับเขา ไปขาย เป็นทาส
ด้วยเหตุนี้ เขาจึง จำต้อง แสดงตน ว่าเป็นเทพ และสาป ให้เรือ มีเถาองุ่น ขึ้นเต็ม มีเสียงขลุ่ย ดังขึ้น ในเรือ พวกลูกเรือ ตกใจ จึงกระโดดน้ำ หนีไปหมด กลายเป็นปลา โลมา มาจนกระทั่งทุกวันนี้
เมื่อกลายเป็น ปลาโลมา นิสัย ของลูกเรือ เปลี่ยนไป กลายเป็นสัตว์ ที่ใจดี มีเมตตา แถมยังช่วยเทพแห่งสมุทร คือ โพซิดอน หาเจ้าสาวอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ ปลาโลมา จึงได้รับเกียรติ จากโพซิดอน ตั้งชื่อ กลุ่มดาว กลุ่มหนึ่งว่า กลุ่มดาวโลมา อีกด้วย
ที่จริงแล้ว โลมา เคยเป็นสัตว์ เลี้ยงลูก ด้วยนมที่อยู่ บนบก เหมือนมนุษย์ แต่เพื่อ ความพยายาม หาอาหาร เลี้ยงปาก เลี้ยงท้อง และหนีศัตรู โลมา จึงค่อยๆ ปรับตัว ให้ลงไปอยู่ ในน้ำ เพื่อความอยู่รอดแทน
นั่นเป็น ตำนาน ของคน โบราณ แต่ในความ เป็นจริงแล้ว โลมา เป็นสัตว์ เลือดอุ่น อาศัย อยู่ในน้ำ คลอดลูก เป็นตัว แถมยัง เลี้ยงลูก ด้วยนม เหมือนมนุษย์ และยัง เป็นสัตว์น้ำ ที่น่ารัก เสียด้วย

สำรวจสรีระของโลมา

โลมา อาศัยอยู่ กระจัด กระจาย ทั่วไป ใน มหาสมุทร นับร้อยชนิด แต่ที่เรารู้จัก กันดี มีอยู่ ๒ ชนิด คือ โลมาปากขวด กับ โลมาหัวบาตร โดยเฉพาะ ใน ประเทศไทย
บางครั้งยังพบโลมาอยู่ใน แม่น้ำอีกด้วย เช่น ในแม่น้ำ คงคาที่ประเทศอินเดีย และใน แม่น้ำโขง เป็นโลมาหัวบาตร น้ำจืด
โลมา มีอวัยวะต่างๆทุกๆ ส่วน เหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนมทั่วไป หากแต่ละส่วนของ อวัยวะ จะปรับเปลี่ยน ต่างไป จากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทั่วไป ดังนี้
จมูกโลมามีจมูกไว้หายใจ แต่จมูกนั้นต่างไป จากจมูก ของสัตว์ อื่นๆ เพราะตั้งอยู่ กลาง กระหม่อม เลยทีเดียว เพื่อให้สะดวกต่อการ เชิด หัวขึ้น หายใจเหนือน้ำ จากจมูก มีท่อ หายใจ ต่อลงมา ถึงปอด ในตัว จึงไม่จำเป็น ต้องให้น้ำ ผ่านเหงือก เข้าไป ในปอด เพื่อช่วยหายใจ เหมือนปลาทั่วไป
หู หูของโลมานั้นเป็น เพียงแค่รูเล็กจิ๋วติดอยูด้าน ข้างของหัวเท่านั้น แต่หูของ โลมา มีประสิทธิภาพสูงมาก รับคลื่นเสียง ใต้น้ำ ได้อย่าง ยอดเยี่ยม โดยเฉพาะกับ ภาษา ที่โลมา สื่อสารกัน ด้วยเสียง ที่มี คลื่นความถี่สูง
การมองเห็นโลมามีดวงตา แจ่มใส เหมือนตา สัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนม มีเปลือกตา ปิดได้ และในเวลา กลางคืน ตาก็จะเป็น ประกาย เหมือนตาแมว ตาของโลมา ไม่มีเมือกหุ้ม เหมือนตาปลา และมองเห็น ได้ไกลถึง ๕๐ ฟุต เมื่ออยู่ในอากาศ
สีผิวสีผิว ของโลมา แต่ละชนิด จะแตกต่างกัน ส่วนมาก จะออก ไปในโทน สีเทา ตั้งแต่เข้ม เกือบดำ จนกระทั่ง ถึงเกือบขาว แต่โดยทั่วไป ปลาโลมาจะมีสีผิว แบบทูโทนคัลเลอร์ คือมีสองสี ตัดกัน ด้านบน เป็นสีเทาเข็ม ด้านล่าง เป็นสีเกือบขาว เพื่อพรางตัว ในทะเล ไม่ให้ ศัตรูเห็น เพราะเมื่อ มองจาก ด้านบน สีเข็มจะกลืน กับสีน้ำทะเล และถ้า มองจาก ด้านล่าง ขึ้นไป สีขาว ก็จะกลืน เข้ากับ แสงแดด เหนือผิวน้ำ

ความฉลาดของโลมา

ว่ากันว่า โลมานั้น ฉลาด ไม่แพ้เด็ก ตัวเล็กๆ เลย ทีเดียว ที่เป็น เช่นนี้ เพราะโลมา มีขนาดสมอง เมื่อเทียบกับ ลำตัวขนาด ใหญ่มาก แถมภายใน สมองยังซับซ้อน อีกด้วย โลมาปากขวดนั้น ถึงกับมีขนาดของสมอง เทียบกับ ลำตัวใหญ่ เป็นที่สอง รองจากมนุษย์ และ สมอง ส่วนซีรีบรัม อันเป็น ส่วนของ ความจำ และการเรียนรู้ ก็มี ขนาดใหญ่มาก เป็นศูนย์รวม ของการ รับกลิ่น การมองเห็น และการได้ยิน จนทำให้ นักวิทยาศาสตร์ ผู้หนึ่ง กล่าวว่า ไม่แน่นักว่า โลมา อาจจะฉลาด เท่ากับ มนุษย์ ก็เป็นได้
โลมาผู้ช่วยชีวิต เรื่องเล่า เกี่ยวกับ ปลาโลมา ช่วยชีวิตคนนั้น มีอยู่ บ่อยครั้ง แต่จริงๆแล้ว เป็นเพราะปลาโลมา ต้องการ ช่วยชีวิต คนจริงๆ หรือ
เชื่อว่าจริงๆ แล้ว ปลาโลมานั้น เป็นปลา ที่อ่อนโยน รักสนุก และขี้เล่น ที่มันช่วยคน อาจ เป็นเพราะ มันต้องการ เข้ามาเล่นสนุกๆ เท่านั้น หรือไม่เช่นนั้น ก็อาจเป็น สัญชาตญาณ ของแม่ปลา ที่มักจะดุนลูก ขึ้นไปหายใจ บนผิวน้ำอยู่เสมอ โดยเฉพาะ ถ้าลูกปลา เสียชีวิต ระหว่างคลอด จะพบว่า แม่ปลา จะพยายาม ดุนศพลูก เอาไว้ ให้ใกล้ผิวน้ำ มากที่สุด
ภัยร้ายของโลมา ใน ประเทศไทย โลมาที่ติดอวน มาแล้ว จะถูก ชำแหละ เนื้อขาย ด้วยราคาถูกๆ เนื่องจากเนื้อปลาโลมา มีความคาวมาก จึงไม่มี ผู้นิยมบริโภค เท่าใดนัก
ในประเทศญี่ปุ่น แต่เดิมเคยเป็น ประเทศ ที่ล่า ปลาวาฬ มากที่สุด ในโลก จนกระทั่ง ปลาวาฬ ใกล้สูญพันธ์ จึงถูกสั่ง ห้ามล่า ปลาวาฬ หันมาล่า ปลาโลมาแทน โดยเพิ่ม ปริมาณ การล่าปลาวาฬ ขึ้นเป็นสี่เท่า ทำให้โลมา ในทะเลญี่ปุ่น ลดน้อยลง เป็นอันมาก
จะเห็นว่า โลมา ไม่ได้ มีชีวิต อยู่สุขสบายนัก ในท้องทะเลธรรมชาติ

สัตว์น้ำคุ้มครอง7

เต่าปูลูไทย



เต่าปูลูไทย (Big-headed turtle)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Platysternon megacephalum vogeli Wermuth, 1969
ขนาด : ขนาดใหญ่สุดเท่าที่พบ มีความยาวกระดอง ๒๐ เซนติเมตร
ถิ่นอาศัย : ลำธารในป่าดิบเขาที่มีความสูงตั้งแต่ ๑,๐๐๐ เมตร จากระดับน้ำทะเลปาน กลาง


สัตว์น้ำคุ้มครอง1



"ปลาหมูอารีย์" สัตว์น้ำคุ้มครอง
"สัตว์น้ำคุ้มครอง"ล่าสุดพบว่า มีเหลืออยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติที่แม่น้ำว้า อ.แม่จริม จ.น่านเท่านั้น!!!
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Botia sidlhimunki Kleusewitz เป็นปลาในสกุล ปลาหมูและปลาค้อ (Cebitidac) รูปร่างค่อนข้างยาว (Oblong) แบนข้าง (Compress) เป็นปลาที่มีขนาดเล็กเมื่อโตเต็มที่มีขนาดยาวประมาณ 10 เซ็นติเมตร ส่วนหลังของลำตัวจะนูนโค้งลงมาทางด้านข้างลำตัว ส่วนท้องบางตัวมีส่วนโค้งด้วย ปากค่อนข้างเรียว มีหนวด 3 คู่ เป็น Roytal barbel 2 คู่ อีก 1 คู่อยู่ที่มุมปาก กระดูกใต้ตาเป็น Spine ที่โค้งพับเก็บใต้ร่องตาและเมื่อกางออก Spine นี้จะยื่นไปอยู่ข้างหน้าของลูกตาพบในประเทศไทยครั้งแรก โดยนายอารีย์ สิทธิมังค์ เมื่อปี พ.ศ. 2502. Dr.Von W.Klausewitz ได้ศึกษาถึงลักษณะทางด้านอนุกรมวิธาน พบว่าเป็นปลาหมูชนิดใหม่ เพราะมีลักษณะของสีสันและลักษณะอื่นๆซึ่งแตกต่างจากปลาในสกุลเดียวกัน ดังนั้นจึงตั้งชื่อ...เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ค้นพบปลาหมูอารีย์ เป็น B.sidlhimunkiการกินอาหารเป็นปลาประเภทกินเนื้อและแมลงต่างๆ มีการพบปลาชนิดนี้มากที่บริเวณแควน้อย จ.กาญจนบุรี และ จ.ราชบุรี ในต่างประเทศพบที่แม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขงบริเวณเมืองปากเซ สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาวเนื่องจากปลาชนิดนี้มีลักษณะสีสันที่สวยงาม จึงถูกชาวบ้านจับไปจำหน่ายและส่งออกไปต่างประเทศเป็นจำนวนมาก จนในปัจจุบันใกล้สูญพันธุ์ ถูกจัดให้อยู่ในบัญชีรายชื่อ "สัตว์น้ำคุ้มครอง"ล่าสุดพบว่า มีเหลืออยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติที่แม่น้ำว้า อ.แม่จริม จ.น่านเท่านั้น!!!สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กรมประมง ได้รับมอบหมายให้อนุรักษ์และฟื้นฟูพันธุ์สัตว์น้ำจืดที่หายาก จึงลงมือศึกษาเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ปลาหมูอารีย์ เพราะราคาจำหน่ายปลาหมูอารีย์ในตลาดค่อนข้างสูงถึงตัวละ 10-30 บาท หากเพาะเลี้ยงดีมีอนาคต เป็นปลาสวยงามทางเศรษฐกิจได้สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดน่าน เป็นผู้ดำเนินการเพาะพันธุ์ โดยการผสมเทียมจนประสบความสำเร็จเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2542 ด้วยวิธีการฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ ผลปรากฏว่าได้ลูกปลาหมูอารีย์ถึง 4,000-5,000 ตัว และในอนาคตเชื่อว่าจะสามารถขยายพันธุ์ ให้ได้ปลาหมูอารีย์ แหล่งที่มา ไชยรัตน์ ส้มฉุ