Thursday, February 15, 2007

สัตว์น้าคุ้มคลอง 16



ปลาเก๋า

หลายคนรู้จักพวกเขาเพราะเป็นอาหารจานเด็ด อย่างไรก็ตาม ปลากลุ่มนี้มีความหลากหลายกว่าที่คิด เราแบ่งปลาเก๋าออกเป็น 2 พวก กลุ่มแรกมีขนาดเล็กยาวประมาณ 5 เซนติเมตร เราเรียกพวกเขาว่า "ปลา Basslet" พวกเขาสีส้มอมเหลืองว่ายเป็นกลุ่มอยู่ตามปะการังบางครั้งอาจเป็นร้อยตัว ปลาเก๋าอีกกลุ่มคือพวกที่เรารู้จักดี มีตั้งแต่ขนาด 10 เซนติเมตรไปจนถึงปลาหมอทะเลขนาดยาว 2 เมตรหรือมากกว่า ปลาเก๋าทุกชนิดกินสัตว์อื่นเป็นอาหาร โดยใช้การอ้าปากฮุบเหยื่อแล้วกลืนเข้าไปในท้อง ฟันที่ละเอียดเล็กมีไว้เพื่อยึดเหยื่อเพียงเท่านั้น พวกเขาพบทั้งในฝั่งอ่าวไทยและอันดามันไม่ต่ำกว่า 40 ชนิด

สัตว์น้าคุ้มคลอง 15


ปลาผีเสื้อ
เป็นปลาขนาดเท่าฝ่ามือมีลวดลายและสีสันสะดุดตาสมฉายาผีเสื้อแห่งท้องน้ำ ลักษณะปากยาวยื่นชอบกินสัตว์ตัวนุ่มทั้งที่ลอยน้ำหรืออยู่ตามดิน บางครั้งตอดกินแมงกะพรุน และดอกไม้ทะเล หากินกลางวันเป็นฝูงสองสามตัวไปจนถึงหลายสิบตัว เช่น ปลาโนรี ปลาผีเสื้อคอขาว ในเมืองไทยพบไม่ต่ำกว่า 30 ชนิด ในอ่าวไทยพบ 14 ชนิด ส่วนในอันดามันมีอย่างน้อย 22 ชนิด (บางชนิดพบร่วมกันทั้งสองฝั่ง)

สัตว์น้าคุ้มคลอง 14






ปลาตองลาย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Chitala blanci
ชื่อสามัญ Blanc's striped featherback
ชื่อไทย ปลาตองลาย
รูปร่างลักษณะ คล้ายคลึงกับปลากรายและปลาฉลาดแต่จะมีลายบริเวณส่วนท้ายของครอบครัว ลำตัวด้านหน้าจะมีจุดดำประอยู่ทั่ว

สัตว์น้ำคุ้มครองที่ 13


ปลาข้าวเม่าน้ำลึก ยามกลางวันหากใครดำน้ำแล้วมองเข้าไปใต้ปะการังเขากวางหรือในถ้ำใต้ทะเล อาจพบปลากลุ่มหนึ่งตัวสีแดงมีตาโตอยู่รวมกันเป็นฝูง 5-10 ตัวหรือมากกว่านั้น ขนาดยาว 20-30 เซนติเมตร พวกเขาคือปลาข้าวเม่าน้ำลึก ในเวลากลางคืนจะออกหากินโดดเดี่ยวตามพื้น ในเมืองไทยพบอย่างน้อย 6 ชนิด มีการแพร่กระจายทั่วไปทั้งในอ่าวไทยและอันดามัน

Tuesday, January 23, 2007

สัตว์น้ำคุ้มครอง12




ปูทูลกระหม่อม


ชื่อสามัญ
ปูทูลกระหม่อม, ปูแป้ง (Mealy crab)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Thaipotamon chulabhon Naiyanetr, 1993
สถานภาพ
เป็นสัตว์ที่พบเฉพาะถิ่นในพื้นที่จำกัด และมีแนวโน้มที่จะถูกคุกคาม

สัตว์น้ำคุ้มครอง11

เสือพ่นน้ำ เสือ ขมังธนู


ชื่อไทย
เสือพ่นน้ำ เสือ ขมังธนู
ชื่อสามัญ
COMMON ARCHER FISH
ชื่อวิทยาศาสตร์
Toxotes chatareus
ถิ่นอาศัย
อยู่ตามแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึงที่มีทางเชื่อมติดต่อกับแม่น้ำและตามบริเวณปากแม่น้ำ พบ ชุกชุมในภาคกลางและภาคใต้
ลักษณะทั่วไป
ปลาที่พบเห็นได้ทั้งในแหล่งน้ำจืดและน้ำกร่อย อาศัยอยู่ตามผิวน้ำ ลำตัวสีเหลืองมีลายดำเหมือนเสือจึงได้ชื่อว่า “ ปลาเสือ ” บริเวณท้องเป็นสีขาวเงิน สีของครีบก้นเป็นสีเหลืองมีขอบเป็นสีดำ ครีบหางจะมีสีเข้มกว่า เป็นสีส้มอมเหลือง ปลาเสือมีความสามารถพิเศษอยู่สองประการ คือ สามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่เหนือน้ำได้เป็นระยะห่าง 3 - 5 ฟุต และอีกประการหนึ่งคือ สามารถพ่นน้ำได้สูงถึง 1.5 เมตร จากผิวน้ำ
อาหารธรรมชาติ
กินแมลงที่บินอยู่ตามผิวน้ำ แมลงน้ำ ลูกกุ้ง ลูกปลาและลูกน้ำ

สัตว์น้ำคุ้มครอง10

ปลาทรงเครื่อง (Labeo bicolor)
ชื่อไทย
ปลาทรงเครื่อง ปลากาสี หรือฉลามหางแดง
ชื่ออังกฤษ
Red-Tailed Black Shark
ถิ่นที่อยู่อาศัย
ในแม่น้ำเขตภาคกลางของประเทศ เช่น นครสวรรค์ อ่างทอง ชัยนาท อุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี เป็นต้น
รูปร่างลักษณะ
เป็นปลากาพวกหนึ่ง ลำตัวยาวเรียว ปราดเปรียว สีลำตัวดำสนิท ครีบอื่นๆดำยกเว้นครีบหางจะมีสีแดงหรือแดงอมส้ม และครีบอกที่มีสีส้มปนดำ ปลาทรงเครื่องมีหนวดสั้นๆ 2 คู่ ปากมีขนาดเล็ก ริมฝีปากบนงุ้ม ยาวกว่าริมฝีปากล่าง บริเวณข้างลำตัวบางครั้งอาจจะมองเห็นจุดสีดำ อยู่ข้างละ1 จุด ปลาชนิดนี้มีขนาดไม่ใหญ่โตนัก มีความยาวประมาณ 9-10 ซม. ตัวโตมากๆประมาณ 15 ซม.
อุปนิสัย
ปลาทรงเครื่อง เป็นปลาที่ได้รับความนิยมสูงมากชนิดหนึ่ง ทังตลาดต่างประเทศและในประเทศ และเป็นปลาที่มีแหล่งกำเนิดเฉพาะในประเทศไทยเราเท่านั้น ที่อื่นไม่มี ต้องสั่งซื้อจากเราไป ปลาชนิดนี้เลี้ยงในบ่อจะไม่ค่อยวางไข่ ต้องใช้วิธีผสมเทียม ฉีดฮอร์โมนเร่งรีดน้ำเชื้อผสมกับไข่ ในวงการปลาสวยงามอาจเรียก "ปลาฉลามหางแดง"เพราะมีหุ่นเพรียว ว่องไวคล้ายฉลามตัวสีดำ หางสีแดงตัดกัน อย่างสวยงาม ปลาทรงเครื่องเป็นปลาปากค่ำ ชอบซอนไซ้หากินตามพื้นตู้ ก้นบ่อ และชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็กๆการเลี้ยงดู ปลาทรงเครื่องถ้านำมาเลี้ยงในตู้กระจก ตั้งใว้ในมุมสงบ จะขึ้นสีสวยงามยิ่งนัก พื้นตู้ควรรองด้วยทรายสะอาดสีขาว หรือกรวดขนาดเล็ก ประดับด้วยพืชรากน้ำ รากไม้น้ำกระบอกไม้ไผ่เก่าๆปลาชอบหลบเข้าไปอาศัยอยู่และว่ายวนไปมา